มาตรการส่งเสริมคุณธรรมความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เทศบาลตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
หลักการประเมิน
แนวคิด “Open to Transparency” ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการประเมิน ITA ที่มาจาก “เปิด” 2 ประการ คือ “เปิดเผยข้อมูล” ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สาธารณชนได้ทราบและสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ และ “เปิดโอกาส” ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานและประชาชนผู้รับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมประเมินหรือแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานภาครัฐผ่านการประเมิน ITA ซึ่งการ “เปิด” ทั้ง 2 ประการข้างต้นนั้นจะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใสและนำไปสู่การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ การประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไม่ได้มุ่งเน้นให้หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินปฏิบัติเพียงเพื่อให้ได้รับผลการประเมินที่สูงขึ้นเพียงเท่านั้น แต่มุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐได้มีการปรับปรุงพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวมเป็นสำคัญ และลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐบรรลุตามเป้าหมาย มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 84 ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ.2561-2580) ต่อไป
เครื่องมือในการประเมิน
เครื่องมือในการประเมินประกอบด้วย 3 เครื่องมือ ดังนี้
1. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT)
เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน โดยเป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในที่มีต่อหน่วยงานตนเองใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ ตัวชี้วัดการใช้งบประมาณ ตัวชี้วัดการใช้อำนาจ ตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ และตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาการทุจริต
2. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT)
เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยเป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มีต่อหน่วยงานที่ประเมิน ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพการดำเนินงาน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสาร และตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน
3. แบบตรวจการเปิดเผยสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT)
เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบมีหรือไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมทั้งระบุURL เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แหล่งที่อยู่ของการเปิดเผยข้อมูล และระบุคำอธิบายเพิ่มเติมประกอบคำตอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน โดยเป็นการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ ใน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูล (ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานการบริหารงาน การบริหารเงินงบประมาณการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการส่งเสริมความโปร่งใส) และตัวชี้วัดการป้องกันการทุจริต (ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต และมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต)
หลักเกณฑ์การประเมินผล
1. การประมวลผลคะแนน
การประมวลผลคะแนน มีขั้นตอนการประมวลผลคะแนนตามลำดับ ดังนี้
2. คะแนนและระดับผลการประเมินผลการประเมินจะมี 2 ลักษณะ คือ ค่าคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน และระดับผลการประเมิน (Rating Score) โดยจำแนกออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้
3. ผลการประเมินตามเป้าหมาย
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดในปีงบประมาณ 2566 ให้หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ผ่านเกณฑ์ (85 คะแนน) มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ เทศบาลตำบลจุน
คะแนนภาพรวมหน่วยงาน เทศบาลตำบลจุน : 90.97 คะแนน ระดับผลการประเมิน A
เทศบาลตำบลจุน ได้วิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยจำแนกตามเครื่องมือการประเมิน และระบุประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข โดยเร่งด่วน ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ รวมถึงการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวิเคราะห์ผลการประเมินจำแนกตามเครื่องมือการประเมิน
ตัวชี้วัด | คะแนน |
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) 1. การปฏิบัติหน้าที่ | 96.55 |
2. การใช้งบประมาณ | 94.18 |
3. การใช้อำนาจ | 95.78 |
4. การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ | 93.23 |
5. การแก้ไขปัญหาการทุจริต | 94.67 |
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) 6. คุณภาพการดำเนินงาน | 84.53 |
7. ประสิทธิภาพการสื่อสาร | 81.37 |
8. การปรับปรุงการทำงาน | 80.64 |
แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) 9. การเปิดเผยข้อมูล | 89.29 |
10. การป้องกันการทุจริต | 100.00 |
ข้อเสนอแนะของหน่วยประเมิน
ระดับ A :
หน่วยงานมีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีคะแนนอยู่ที่ 90.97 คะแนน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
หน่วยงาน เทศบาลตำบลจุน ได้มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 1. การปฏิบัติหน้าที่ ที่ดีเยี่ยม ควรรักษามาตรฐานไว้ ทั้งนี้ ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 4. การใช้ทรัพย์สินของราชการ ซึ่งผู้ตรวจประเมินมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินต่ำ โดยเฉพาะใน
(I 19) บุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หน่วยงานควรสร้างจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบงานต่อหน้าที่เพื่อให้เกิดการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
(I 20) บุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง หน่วยงานควรระบุขั้นตอนและแนวทางในการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการตามประเภทงานด้านต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์คู่มือ หรือแนวทางดังกล่าวให้บุคลากรถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
(I 23) บุคลากรในหน่วยงานบางรายยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างถูกต้อง หน่วยงานควรระบุขั้นตอนและแนวทางในการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการตามประเภทงานด้านต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
หน่วยงาน เทศบาลตำบลจุน ได้มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 6.คุณภาพการดำเนินงาน ที่ดีพอประมาณ ควรรักษามาตรฐานไว้ ทั้งนี้ ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 8.การปรับปรุงการทำงานซึ่งผู้ตรวจประเมินมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินต่ำ โดยเฉพาะใน
(E 11) การปรับปรุงคุณภาพและการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน/การให้บริการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้ดีขึ้น หน่วยงานควรนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง การพัฒนาคุณภาพดำเนินงานของหน่วยงาน
(E 12) การปรับปรุงวิธีการและการสำรวจความพึงพอใจของขั้นตอนการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น หน่วยงานควรนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง การพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน
(E 14) การเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น หน่วยงานควรเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน (อ้างอิงจาก o33) ผ่านการดำเนินการ โครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
หน่วยงาน เทศบาลตำบลจุน ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) โดยผู้ตรวจประเมินมีข้อเสนอแนะต่อการประเมินที่ไม่ได้รับคะแนน ในประเด็นดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
(O 20) รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
- ไม่ปรากฎปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ
- มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณ ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2564
*หมายเหตุ หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ หน่วยงานต้องระบุว่า “ไม่มี” โดยห้ามตัดหัวข้อ
(O 23) สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
- ไม่มีสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือนมีนาคม
- มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง เปิดเผยข้อมูลเป็นรายเดือนที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2565
*หมายเหตุ (กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้เผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนนั้น)
(O 28) รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
- ไม่ปรากฎปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ
- มีข้อมูลรายละเอียดของการดำเนินการ ผลการดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะผลการวิเคราะห์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2564
*หมายเหตุ หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ หน่วยงานต้องระบุว่า “ไม่มี” โดยห้ามตัดหัวข้อ
แนวทางการพัฒนาตามข้อเสนอแนะของหน่วยประเมิน
ตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
หน่วยงาน เทศบาลตำบลจุน จะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 4. การใช้ทรัพย์สินของราชการ ในตัวชี้วัดที่
(I 19) บุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนมีการแจ้งประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานในการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบงานต่อหน้าที่เพื่อให้เกิดการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
(I 20) บุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนมีการจัดทำขั้นตอนและวิธีการในการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการตามประเภทงานด้านต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
(I 23) บุคลากรในหน่วยงานบางรายยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างถูกต้อง
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนได้ระบุขั้นตอน วิธีการและแนวทางในการขอยืมทรัพย์สินของทางราชการตามประเภทงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
เทศบาลตำบลจุน จะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 8. การปรับปรุงการทำงานซึ่งผู้ตรวจประเมินมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่
(E 11) การปรับปรุงคุณภาพและการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน/การให้บริการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้ดีขึ้น
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนจะพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน การให้บริการ รวมถึงการนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง การพัฒนาคุณภาพดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นการให้บริการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานโดยประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
(E 12) การปรับปรุงวิธีการและการสำรวจความพึงพอใจของขั้นตอนการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนจะพัฒนาปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการให้บริการรวมถึงนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงวิธีการ และการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
(E 14) การเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน (อ้างอิงจาก o33) ผ่านการดำเนินการ โครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงการดำเนินการกิจกรรม จึงต้องมีการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
ตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
เทศบาลตำบลจุน มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT ในประเด็นดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
(O 20) รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนได้แจ้งให้ผู้จัดทำรายงาน ปรับปรุง /เพิ่มเติม รายงานให้มีความครบถ้วนของข้อมูล หรือแยกข้อมูลเป็นหัวข้อเพื่อให้ผู้รับข้อมูลมีความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
(O 23) สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุน ได้ปรับปรุงการนำเข้าข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบ และมีความชัดเจนในการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้ทราบ (กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้เผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนนั้น)
(O 28) รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แนวทางการพัฒนา
เทศบาลตำบลจุนได้แจ้งให้ผู้จัดทำรายงาน ปรับปรุง /เพิ่มเติม รายงานให้มีความครบถ้วนของข้อมูล หรือแยกข้อมูลเป็นหัวข้อเพื่อให้ผู้รับข้อมูลมีความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และให้จัดทำข้อมูลเป็นปัจจุบัน
แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติหรือมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส (ตามข้อเสนอแนะของหน่วยประเมิน)




ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน (จากตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนน้อยกว่า 85 คะแนน)
ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนน้อยกว่า 85 คะแนน และมีคะแนนน้อยที่สุด 3 อันดับ ดังนี้
1.1 คุณภาพการดำเนินงาน ได้คะแนนประเมิน 84.53 คะแนน
1.2 ประสิทธิภาพการสื่อสาร ได้คะแนนประเมิน 81.37 คะแนน
1.3 การปรับปรุงการทำงาน ได้คะแนนประเมิน 80.64 คะแนน
ตัวชี้วัด คุณภาพการดำเนินงาน 84.53 คะแนน (ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์)
แนวทางการพัฒนา
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการหรือการปฏิบัติงาน ปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานให้ดีขึ้น เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานหรือการบริการให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อหรือผู้มีส่วนได้เสีย เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานหรือการให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น และต้องปรับปรุงให้มีความโปร่งใสในการดำเนินงานและการให้บริการ
ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ (ตัวชี้วัด คุณภาพการดำเนินงาน)
2.1 เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจะต้องปรับปรุงการให้บริการหรือการปฏิบัติงานรวมถึงขั้นตอนวิธีการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงานหรือการให้บริการ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนในการดำเนินงานหรือการให้บริการ เช่น one stop service เป็นต้น
แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติหรือมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

ตัวชี้วัด ประสิทธิภาพการสื่อสาร 81.37 คะแนน (ผลการประเมินผ่านเกณฑ์)
แนวทางการพัฒนา
1. ต้องมีการประชาสัมพันธ์ภารกิจขององค์กรให้ประชาชนได้รับทราบ
2. มีช่องทางติดต่อร้องเรียนการทุจริตและรับฟังความคิดเห็นติชมเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน/การให้บริการ
3. มีการตอบคำถามหรือชี้แจงเมื่อมีข้อซักถามหรือข้อสงสัย
ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ (ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสาร)
1.ทุกกอง/ฝ่าย หรือมีการแจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ภารกิจของตน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเช่น ทางเว็บไซต์ หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์
2. เพิ่มช่องทางติดต่อเรื่องร้องเรียนการทุจริตโดยตรง ต่อนายกเทศมนตรีหรือปลัดเทศบาล รวมทั้งเพิ่มช่องทางรับฟังความคิดเห็นติชมการปฏิบัติงาน/การให้บริการรวมทั้งตอบข้อซักถามหรือข้อสงสัยของประชาชน
แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติหรือมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

ตัวชี้วัด การปรับปรุงการทำงาน ได้คะแนนประเมิน 80.64 คะแนน
แนวทางการพัฒนา
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน/ให้บริการ ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นหลัก รวมถึงพิจารณาการลดขั้นตอนการให้บริการ ลดกระบวนงานการให้บริการเพื่อความรวดเร็วของผู้รับบริการ และพิจารณาเทคโนโลยีมาใช้ให้ประชาชนเข้าถึงการแจ้งขอรับบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ
ทุกกอง/ฝ่าย ต้องกำชับให้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน/การให้บริการแก่ประชาชน ตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
แนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติหรือมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
เทศบาลตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
- การวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ของ เทศบาลตำบลจุน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
จากผลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของเทศบาลตำบลจุน ตามประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปี 2564 จำนวน 94.59 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยมีผลการประเมินระดับ A หมายถึง หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ค่อนข้างครบถ้วน และมีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการตามตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมิน ITA มีระดับผลการประเมิน A โดยมีคะแนน ตามตัวชี้วัดดังรูป

จากเป้าหมาย “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปี 2564” ที่กำหนดให้หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินร้อยละ 80 จะต้องมีผลคะแนน 85 คะแนนขึ้นไป
โดยวิเคราะห์ผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัด ได้ดัง
ตัวชี้วัด | คะแนน |
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) 1.การปฏิบัติหน้าที่ | 96.89 |
2.การแก้ไขปัญหาการทุจริต | 95.86 |
3.การใช้อำนาจ | 95.81 |
4.การใช้งบประมาณ | 95.63 |
5.การใช้ทรัพย์สินของราชการ | 95.46 |
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) 6.ประสิทธิภาพการสื่อสาร | 95.22 |
7.การปรับปรุงการทำงาน | 93.78 |
8.การเปิดเผยข้อมูล | 93.75 |
แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) 9.คุณภาพการดำเนินงาน | 93.44 |
10.การป้องกันการทุจริต | 92.82 |
ตามคะแนนตัวชี้วัด มีแบบวัดที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์เป้าหมาย (85 คะแนนขึ้นไป) คือ แบบวัด IIT ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต มุ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุดและคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักอย่างชัดเจน ส่วนแบบวัดที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 85) คือ แบบวัด EIT OIT ซึ่งมีการหาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนเพื่อหาแนวทางแก้ไขเพื่อสามารถพัฒนาไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน ให้มีผลการประเมินในปีถัดไปที่ดีขึ้น
ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน
1) การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบและขั้นตอนการให้บริการงานด้านต่างๆ อย่างทั่วถึง
2) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างชัดเจน
3) มีพื้นที่เว็บไซต์ไม่เพียงพอต่อการนำเข้าข้อมูลจึงต้องใช้การเชื่อมโยงลิงค์จาก ผู้ให้บริการฟรีพื้นที่ข้อมูล (Cloud) แนวทางแก้ไขโดยการขยายพื้นที่เว็บไซต์ Web Hosting ให้เพียงพอสำหรับการนำเข้าข้อมูลเพื่อบริการตามภารกิจและนำเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการให้เว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ไปจนถึงพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐได้
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีผลการประเมินที่ดียิ่งขึ้นในปีถัดไป ดังต่อไปนี้
จากประเมินตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมิน ITA โดยมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงหรือเปิดเผยข้อมูลราวร้อยละ 5-15 ของตัวชี้วัดหรือข้อคำถามทั้งหมด ดังนั้น หน่วยงานพึงพิจารณาผลประเมินเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในจุดที่ยังคงเป็นปัญหา โดยหากมีการวางแผนแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คาดหมายได้ว่าหน่วยงานจะสามารถยกระดับการดำเนินงานตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างมีสัมฤทธิผล รวมถึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธา สร้างความไว้วางใจแก่สาธารณชนได้มากยิ่งขึ้นในปีต่อๆ ไป ทั้งนี้ ประเด็นที่ควรมีการเปิดเผย หรือบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่
1. แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต โดยมีข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้า ยกตัวอย่างเช่น ความก้าวหน้า การดำเนินการแต่ละโครงการ กิจกรรม รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงาน เป็นต้น และเป็นข้อมูลในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีที่รับการประเมิน |
2. แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง กับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน โดยมีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน ยกตัวอย่างเช่น รายละเอียด วิธีการที่บุคคลภายนอกจะทาการร้องเรียน รายละเอียดขั้นตอนหรือ วิธีการในการจัดการต่อเรื่องร้องเรียน ส่วนงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลา ดำเนินการ เป็นต้น |
3. แสดงข้อมูลของผู้บริหารสูงสุดหรือหัวหน้าหน่วยงาน และผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของหน่วยงาน โดยควรแสดงอย่างน้อยประกอบด้วย ด้วยชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง รูปถ่าย และช่องทางการติดต่อของผู้บริหารแต่ละคนให้ชัดเจน ในกรณีเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรครอบคลุมทั้งฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ |
4. เพิ่มกลไกการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น |
5. พึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาพฤติกรรมการมุ่งเน้นผลสำเร็จของงาน การให้ความสำคัญกับงานมากกว่าธุระส่วนตัว และความพร้อมรับผิดรับชอบหากความผิดพลาดเกิดจากตนเองของบุคลากรในหน่วยงานของท่านมากขึ้น |
6. เพิ่มการกำกับติดตาม ถ้ามีการขอยืมทรัพย์สินของราชการ ไปใช้ปฏิบัติงาน บุคลากรในหน่วยงานของท่าน ต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง |
7. ให้ตรวจสอบว่าประเด็นการปฏิบัติงานให้บริการแก่ผู้อื่นว่าเป็นไปตามขั้นตอนหรือระยะเวลาที่กำหนดมากน้อยเพียงใด |
8. เพิ่มการปรับปรุงวิธีการและ ขั้นตอนการดำเนินงาน/การให้บริการให้ดีขึ้น |
9. พัฒนากระบวนการการคัดเลือกผู้เข้ารับ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน หรือการให้ทุนการศึกษา อย่างเป็นธรรม |
10. เพิ่มมาตรการกำกับติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ปิดบังหรือบิดเบือนข้อมูล |
11. ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานหรือข้อมูลที่สาธารณชนควรรับทราบอย่างชัดเจนมากขึ้น |
12. เพิ่มมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกหรือภาคเอกชนนำทรัพย์สินของราชการไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง |
13. เพิ่มการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการ ไปใช้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของท่าน |
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการในการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสของเทศบาลตำบลจุน ดังนี้

- มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
- มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
- มาตรการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม
- มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
- มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
- มาตรการป้องกันการรับสินบน
- มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
- มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจมาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ